เกร็ดความรู้ การถนอมอาหารด้วยวิธีการแช่แข็ง

การถนอมอาหารด้วยวิธีการแช่แข็ง

การแช่แข็งเป็นการถนอมอาหารที่ได้ชื่อว่าดีที่สุด เพราะทำให้อาหารยังคงความอร่อยและเนื้อสัมผัสไม่ต่างจากเดิมมากนัก ครั้งนี้  koolions จึงจะพาเพื่อน ๆ มาเจาะลึกข้อดี ข้อเสีย ข้อควรระวังรวมถึงเกร็ดความรู้ของการยืดอายุอาหารด้วยวิธีนี้อย่างละเอียดกันค่ะ

รวมเรื่องน่ารู้ของการถนอมอาหารด้วยการแช่แข็ง

1  อาจมีสีคล้ำเพราะความชื้นลดลง
การแช่แข็ง

 การลดลงของความชื้นเนื่องมาจากการระเหยหน้าจากผิวหน้าของเนื้อ กรณีนี้เรียกว่า freezer burn ซึ่งจะทำให้เนื้อมีสีคล้ำ กระด้าง แห้ง หยาบ ไม่มีรสชาติ แต่สามารถแก้ไขได้ เพียงแค่ตอนที่เราจะแช่ ให้หุ้มให้มิดชิดค่ะ

2 กลิ่นเหม็นหืน

การแช่แข็งเนื้อ

บางคนอาจจะนึกภาพกลิ่นเหม็นหืนไม่ออก กลิ่นหืน (Rancidity) เป็นกลิ่นไม่พึงประสงค์ ซึ่งสามารถแบ่งการเกิดได้คร่าว ๆ 2 กรณี คือ

– เกิดจากกรดไขมันไม่อิ่มตัวทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ

– เกิดจากโมเลกุลของบไขมันมีน้ำเข้าไปเจือปน

ซึ่งอาจอธิบายได้ว่า การเหม็นหืนเกิดขึ้นจากการออกซิไดซ์ของไขมัน ทำให้เนื้อสัตว์ที่มีไขมันอิ่มตัวและไม่อิ่มตัวต่างกันก็จะเกิดการเหม็นหืนที่ต่างกันด้วย เช่น เนื้อวัวเนื้อแกะ มีไขมันอิ่มตัวมากกว่าเนื้อหมูก็จะเหม็นหืนน้อยกว่าเป็นต้น

ถ้าให้ชัวร์แนะนำให้ห่อหุ้มเนื้อสัตว์ให้มิดชิด เพื่อป้องกันไม่ให้อากาศเข้ามาทำปฏิกิริยาได้ก็เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยชะลอการเหม็นหืนได้ค่ะ

3 จุลินทรีย์ต่าง ๆ (Microorganism)
จุลินทรีย์ต่าง ๆ

จริง ๆ แล้วมนุษย์ใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์หลายอย่างมาก ทั้งถนอมอาหาร ทำแอลกอฮอล์ ทำเครื่องดื่ม รวมถึงยารักษาโรค แต่ว่านอกจากประโยชน์แล้วจุลินทรีย์บางชนิดก็เป็นตัวการก่อโรค โดยเฉพาะทำให้อาหารเน่าเสีย โดยจุลินทรีย์ที่พบในอาหารมีทั้งแบคทีเรีย รา ยีสต์ รวมถึงไวรัสด้วย

ถ้าเป็นแบคทีเรียโดยปกติจะไม่เติบโตที่อุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็งของน้ำ (0 องศาเซลเซียส) แต่ก็มียีสต์บางชนิดที่สามารถโตได้ในอุณหภูมิที่ต่ำกว่าแบคทีเรีย ซึ่งโดยทั่วไปสาเหตุที่การแช่แข็งเป็นการเก็บอาหารที่ดีกว่าวิธีอื่น ๆ เพราะ แบคทีเรียจะใช้น้ำในการทำกิจกรรมต่าง ๆ พอน้ำแข็งตัวกลายเป็นน้ำแข็ง แบคทีเรียก็อยู่ไม่ได้นั่นเอง

4 ลดความเสี่ยงจากพยาธิ
ลดความเสี่ยงจากพยาธิ

นอกจากจุลินทรีย์ต่าง ๆ แล้วการแช่แข็งยังช่วยลดความเสี่ยงจากพยาธิหลายชนิด ทั้งพยาธิตัวกลม พยาธิตัวตืดและที่ได้ผลดีที่สุด คือ Trichinella spiralis หากเก็บเนื้อหมูที่มีพยาธิตัวนี้ไว้ที่อุณหภูมิ -17.78 องศาเซลเซียส หรือ 0 องศาฟาเรนไฮด์ พยาธิชนิดนี้จะตายหมด โดยมีข้อแนะนำจากทางองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา ว่าสำหรับผู้ที่ชอบทานปลาดิบ เช่น ซาชิมิ ควรนำไปแช่แข็งที่อุณหภูมิ –4 องศาฟาเรนไฮต์ อย่างน้อย 7 วัน หรือแช่ที่อุณหภูมิ –31 องศาฟาเรนไฮด์ ประมาณ 15 ชั่วโมงเป็นอย่างต่ำ

5 คุณค่าทางโภชนาการ
อุณหภูมิการเก็บรักษา

อุณหภูมิสำหรับการแช่อาหารให้แข็งไม่ทำให้สารอาหารต่าง ๆ สลายตัว อุณหภูมิต่ำมีส่วนทำให้สารอาหารคงตัว การเลือกบรรจุหีบห่อมีส่วนป้องกันการสูญเสีย วิตามิน หลายชนิด และมีผลกับสารอาหารต่าง ๆ ดังนี้

  • วิตามิน B1 สลายตัวเมื่อเจอความร้อน
  • วิตามิน B2 การละลายน้ำแข็งหลังจากแช่อาจมีผลกับการสลายตัวของวิตามินประมาณหนึ่ง
  • วิตามิน C เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ

โปรตีน กระบวนการแช่แข็งอาจทำให้โปรตีนเปลี่ยนสภาพ แต่คุณค่าทางโภชนาการไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปด้วย

ไขมัน จะเกี่ยวข้องกับการเหม็นหืน เช่น เนื้อหมูจะเหม็นหืนหลังจากที่เก็บไว้ในอุณหภูมิ 0 องศาฟาเรนไฮด์ เป็นเวลา 6 เดือน ส่วนเนื้อวัวจะมีสภาพที่ดีถ้าเก็บในอุณหภูมิที่ต่ำมาก แม้จะเก็บแล้ว 2 ปี

อุณหภูมิการเก็บและการแช่แข็งอาหาร

ยิ่งอุณหภูมิที่ต่ำยิ่งส่งผลให้ระยะเวลาในการเก็บอาหารยาวนานมากขึ้น สำหรับการแช่แข็งควรใช้อุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศาฟาเรนไฮด์ หรือประมาณ น้อยกว่า –18 องศาเซลเซียส ถ้าเป็นตู้เย็นที่ชนิดที่ไม่มีช่องแช่แข็งแยกต่างหาก จึงเก็บอาหารแช่แข็งไม่ได้นานเท่าที่ควร ทำให้ถ้าเป็นตู้แช่ร้านอาหารหรือตู้แช่อาหารสดจึงควรเป็นตู้แช่แข็งโดยเฉพาะไปเลย

ข้อควรปฏิบัติเกี่ยวกับอาหารแช่แข็ง

ข้อควรปฏิบัติเกี่ยวกับอาหารแช่แข็ง

  1. หลังจากเราซื้ออาหารแช่แข็งมาควรรีบแช่ในช่องแช่แข็งหรือตู้แช่แข็งทันที ไม่ควรรอให้น้ำละลายเพราะอาหารจะเสียคุณค่าและรสสัมผัสไปกับน้ำที่ละลาย
  2. การถนอมอาหารสดด้วยการใช้ความเย็นมีส่วนช่วยทำให้อาหารอยู่ได้นานขึ้น แต่อีกขั้นตอนที่สำคัญมาก นั่นก็คือ การละลายอาหารแช่แข็ง สำหรับวิธีที่ดีที่สุด คือ การนำอาหารออกจากช่องแข็งมาใส่ในตู้เย็นชั้นล่างหรือต่ำมาพักไว้ในอุณหภูมิที่ไม่ต่ำมาก เรียกง่าย ๆ ว่าการละลายนอกตู้เย็น จะยังคงรสชาติและเนื้อสัมผัสได้ดีกว่าการแช่ด้วยน้ำร้อน
  3.  ในการละลายน้ำแข็ง 1 ครั้ง ควรใช้ส่วนนั้นให้หมดในครั้งเดียว ไม่ควรนำกลับมาใช้ใหม่ ดังนั้นต้องกะปริมาณแต่ละมื้อให้เหมาะสม ถ้านำกลับไปแช่ใหม่จะทำให้สูญเสียน้ำและสารอาหารมากขึ้น

สรุป การแช่แข็งจึงเป็นวิธีที่ถือว่าดีที่สุดในการยืดอายุอาหาร ลดความเสี่ยงของจุลินทรีย์ พยาธิและป้องกันการสูญเสียคุณค่าทางอาหารจากการละลายของน้ำได้ แต่ทั้งนี้แนะนำว่าควรเลือกตู้แช่หรือตู้แช่แข็งที่มีคุณภาพ เพื่อจะได้ลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ที่สำคัญต้องศึกษาข้อปฏิบัติการใช้งานอย่างละเอียด เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย