รวมวิธีละลายเนื้อสัตว์อย่างไรให้คงความอร่อย

วิธีละลายเนื้อสัตว์ที่ดี

รวมวิธีละลายเนื้อสัตว์อย่างไรให้คงความอร่อย

วิธีละลายเนื้อสัตว์โดยปกติเชื่อว่าแม่บ้านพ่อบ้านทุกคนสามารถทำได้อยู่แล้ว แต่ครั้งนี้ koolions จะมาแนะนำวิธีการที่นอกจากจะสามารถนำไปปรุงอาหารในเมนูต่าง ๆ ได้ดีแล้ว ยังคงรสชาติ เนื้อสัมผัสและความอร่อยที่แทบไม่ต่างจากเนื้อสัตว์ที่ยังไม่ผ่านการแช่แข็งเลยค่ะ

5  วิธีละลายเนื้อสัตว์เพื่อให้ยังคงรสชาติที่ดีเอาไว้

สำหรับใครที่เป็นพ่อครัวแม่ครัวตัวยงประจำบ้านหรือแม้แต่ร้านอาหารก็จะทราบดีกว่าในการทำอาหารสักเมนูหนึ่งหรือสักมื้อหนึ่งเพื่อให้เพียงพอกับคนในครอบครัวนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ไหนจะหาวัตถุดิบ ไหนจะหุงข้าว ไหนจะเตรียมเครื่องเทศน์สารพัด

ครั้นจะให้ทำอาหารทีนึง ออกไปซื้อของมาทำทีหนึ่งก็คงไม่ทัน หลายคนจึงต้องใช้วิธีซื้อวัตถุดิบมาตุนไว้ ทั้งเนื้อสัตว์เอย ผักเอย โดยใช้ความเย็นจากตู้เย็นหรือตู้แช่แข็งนี่แหล่ะเป็นเครื่องมือในการรักษาความสดของอาหารซึ่งวิธีนี้มีข้อดีมากมายทั้งสะดวก รวดเร็ว ประหยัดค่าน้ำมันรถ แต่ก็แอบมีข้อเสียอยู่บ้าง เช่น บางครั้งอาจจะไม่ได้รสชาติที่เหมือนตอนก่อนแช่แข็ง เป็นต้น

ครั้งนี้  koolions จึงจะมาแนะนำวิธีที่จะช่วยให้อาหารของทุกคนยังคงมี่รสชาติที่อร่อยถูกใจทุกคนในบ้านกันค่ะ

1 ละลายในตู้เย็น
ละลายในตู้เย็น

หลังจากที่เราแช่เนื้อสัตว์ในช่องแช่แข็ง เนื้อสัมผัสของเนื้อสัตว์ของเราจะค่อนข้างแข็งมาก หลายคนจึงมักเลือกวิธีนำไปแช่ในน้ำร้อนเพื่อละลายนำแข็ง koolions อยากบอกว่าวิธีการนี้จะทำให้เนื้อของเราสูญเสียรสชาติรวมถึงรสสัมผัสอีกด้วย

วิธีที่ได้ชื่อว่าจะคงรสชาติของเนื้อได้ดีที่สุดคงหนีไม่พ้น การนำเนื้อมาพักทิ้งไว้ในช่องธรรมดา (อุณหภูมิ 1 – 2 องศาเซลเซียส) เป็นเวลา 24 ชั่วโมงหรือ 1 วัน เพื่อละลายน้ำแข็งและค่อย ๆ สลายเกล็ดน้ำแข็งที่เกาะอยู่ตามบริเวณต่าง ๆ โดยยังไม่ต้องเอาออกจากถุงซีลหรือถ้าจะนำออกจากถุงก็จะต้องมีการห่อใหม่อีกครั้งก่อนนำไปแช่ค่ะ แนะนำให้หาภาชนะมารองด้วยเพราะน้ำแข็งจะต้องละลายเป็นน้ำไหลเลอะเทอะแน่นอนค่ะ

การละลายเนื้อสัตว์ในตู้เย็นมีข้อดีคือ เสียรสชาติน้อยที่สุด แต่ข้อเสียก็คือ เราอาจจะต้องเตรียมตัวอย่างน้อย 1 วัน เพราะต้องนำออกมาพักในช่องธรรมดา

2 ละลายในน้ำเย็น

ละลายในน้ำเย็น

เริ่มจากนำเนื้อสัตว์ออกจากช่องแช่แข็ง เตรียมภาชนะขนาดพอดีจากนั้นเติมน้ำเย็นใส่ในภาชนะ (กะปริมาณให้สามาถจมชิ้นเนื้อของเราได้ค่ะ) จากนั้นนำเนื้อของเราที่บรรจุในถุงพลาสติกหรือถุงหุ้มมิดชิดแล้วแช่ในน้ำเย็นให้จมลงไปทั้งชิ้นเลยค่ะ

น้ำเย็นจะทำหน้าที่ช่วยถ่ายเทความร้อนจากอากาศด้านนอกทั้งยังไม่ทำให้อุณหภูมิบริเวณผิวหน้าของเนื้อสัตว์สูงจนเกินไป เพราะเวลาที่เรานำเนื้อสัตว์ออกมาจากช่องแช่แข็งนั่นหมายถึงแบคทีเรียจะสามารถเจริญเติบโตได้ไวขึ้น แต่เมื่อใช้น้ำเย็นตรงนี้จะมีส่วนช่วยในการชะลอการเติบโตของแบคทีเรียได้ค่ะ

โดยการละลายในน้ำเย็นจะใช้เวลาน้อยกว่าละลายในตู้เย็น ใช้เวลาแค่ 2 – 3 ชั่วโมงเท่านั้น เคล็ดลับสำหรับวิธีนี้คือ ควรเปลี่ยนน้ำทุก 30 นาทีหรือ 1 ชั่วโมงค่ะ จากนั้นก็ต้องคอยมาจับ ๆ ดูว่านิ่มหรือยัง ถ้าเนื้อนิ่มจนโอเคแล้วก็นำขึ้นมาปรุงสุกได้เลยค่ะ การใช้น้ำเย็นจะเหมาะกับอาหารประเภา อาหารทะเลสดแช่แข็ง เช่น กุ้ง หมึก ปลา เนื้อปู เป็นต้นค่ะ

ข้อควรระวังสำหรับวิธีนี้ คือ ควรปรุงสุกทั้งหมดค่ะ ไม่ควรนำกลับมาแช่ใหม่อีกเพราะระหว่างกระบวนการอาจมีแบคทีเรียเจริญเติบโตได้ เพราะเนื้อสัตว์เหมาะกับการเจริญของเชื้อหลายชนิด เช่น Salmonella หรือ  Campylobacter jejun เป็นต้น

3 ละลายด้วยก้นของหม้อสแตนเลสหรือหม้อทองเหลือง

ละลายด้วยหม้อสแตนเลส

เริ่มจากนำเนื้อสัตว์ที่แช่แข็งเอาไว้มาห่อด้วยแผ่นฟิล์มสำหรับถนอมอาหาร จากนั้นเตรียมหม้อจำนวน 2 ใบ ใบที่ 1 คว่ำลง ใบที่ 2 วางปกติ นำเนื้อของเราวางบนก้นหม้อใบที่ 1 ที่คว่ำไว้ จากนั้นนำหม้อใบที่ 2 วางทับ ให้เนื้อของเราอยู่ระหว่างก้นของหม้อทั้ง 2 ใบจากนั้นก็ปล่อยให้ตัวหม้อสแตนเลสหรือหม้อทองเหลืองทำหน้าที่ในการดูดความเย็นจากเนื้อของเราค่ะ

4 ละลายด้วยแผ่นฟอยล์

ห่ออาหารด้วยฟอยล์

ต้องบอกก่อนว่าวิธีนี้อาจจะทำให้คงรสชาติของอาหารน้อยลงกว่าวิธีอื่น ๆ แต่ก็เป็นวิธีที่สะดวกและใช้เวลาไม่นานค่ะ เริ่มจากนำฟอยล์มาห่อเนื้อทั้งชิ้นของเราทั้งชิ้น จากนั้นทิ้งไว้ 10 – 15 นาทีค่ะ จากนั้นก็สามารถนำไปประกอบอาหารทานได้เลยค่ะ เป็นวิธีที่สะดวกและรวดเร็วมาก

5 การใช้ไมโครเวฟ

ละลายด้วยไมโครเวฟ
เป็นอีกวิธีที่อาจทำให้สูญเสียรสชาติของเนื้อไปบ้าง โดยเริ่มจาก นำเนื้อออกจากช่อง freeze นำบรรจุภัณฑ์ออกแล้วหาภาชนะที่เวฟได้มาใส่แทน จากนั้นเลือกปุ่ม Defrost หรือกำลังไฟที่ 160 -200 วัตต์ จากนั้นก็ค่อย ๆ เปิดดูทุก ๆ 45 วินาที คาดว่าใช้เวลาแค่ 2 – 4 นาทีก็น่าจะคืนตัวค่ะ

วิธีละลายเนื้อสัตว์แต่ละแบบก็ให้ผลลัพธ์ที่ต่างกันซึ่งก็ไม่ต่างกันมาก สิ่งที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าการละลายเนื้อสัตว์ คือ การรักษาอุณหภูมิของเนื้อสัตว์ให้ยังคงสดใหม่ และมีคุณภาพ เพราะต่อให้เราเลือกวิธีละลายที่ดีแค่ไหน แต่ขั้นตอนการรักษาสภาพเนื้อสัตว์ของเราไม่เหมาะสม รสชาติและเนื้อสัมผัสอาหารอาจมีผลต่อเนื้อสัมผัสของอาหารอยู่ดี ที่สำคัญหากเราเก็บเนื้อสัตว์ได้ไม่ดีพอ อาจทำให้เชื้อต่าง ๆ เจริญซึ่งอาจทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ (food poisoning) ได้

โดยหากเป็นการประกอบอาหารภายในครอบครัว ตู้เย็นหรือตู้แช่ 1 ประตูน่าจะเพียงพอ แต่ถ้าเป็นครอบครัวใหญ่มาก ๆ หรือเป็นร้านอาหารแนะนำให้ดูเป็น ตู้แช่ 2 ประตูหรือ 3 ประตูจะเหมาะกับการใช้เป็นตู้แช่ร้านอาหารมากกว่าค่ะ โดยราคาตู้แช่ในปัจจุบันก็ไม่แพงมากค่ะ ทั้งตู้แช่อาหารแช่แข็ง ตู้แช่อาหารสด ราคามีให้เลือกหลากหลาย ขึ้นอยู่กับขนาด คุณภาพและตัววัสดุที่ใช้ บางรุ่นที่ดี ๆ ก็สามารถใช้ได้ยาวนานกว่า 10 ปีเลยค่ะ

ดังนั้นหากอยากให้วัตถุดิบในการประกอบอาหารคงความสด รสชาติอร่อยและสะอาด เราควรมีอุปกรณ์รักษาความเย็นที่ได้คุณภาพและไว้ใจได้ค่ะ