การทำความเย็นกับการเก็บรักษาเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและใช้งานได้ยาวนาน

ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบัน ทำให้อุปกรณ์ทำความเย็นก้าวหน้ามาไกลขึ้น มีหลายแบบและมีหลักการทำความเย็นอย่างไร ครั้งนี้เราจึงจะมาไขข้อข้องใจเกี่ยวกับ การทำความเย็นกับการเก็บรักษา อุปกรณ์เก็บความเย็น เพื่อให้เข้าใจมากขึ้น

การทำความเย็นกับการเก็บรักษา มีความสำคัญอย่างไร

การทำความเย็น คือ การทำให้อุณหภูมิบริเวณที่เราต้องการอยู่ในระดับที่เหมาะสมกับการใช้ประโยชน์ ในขณะที่อุณหภูมิห้องอยู่ที่ประมาณ 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิที่เราต้องการอาจลดต่ำลงไปถึง – 20 องศาเซลเซียส  

อาศัยหลักการ การทำให้ความร้อนที่มีอยู่ถูกถ่ายเทออกไป โดยดูดความร้อนออกจากบริเวณที่เราต้องการให้เย็น ทำให้อุณหภูมิบริเวณดังกล่าวลดต่ำลง จนเกิดความเย็น

การทำความเย็นมีความสำคัญมากแทบจะในทุกอุตสาหกรรม ทั้งอุตสาหกรรมอาหาร ยารักษาโรค รวมถึงหลาย ๆ ขั้นตอนในการผลิต เช่น การผลิตไอศกรีม การผลิตนม การหมัก การบ่ม การรักษาวัตถุดิบ ทั้งหมดล้วนจำเป็นต้องอาศัยความเย็นเข้ามาช่วย

ถ้าถอยลงมาที่ธุรกิจขนาดเล็กหรือขนาดกลาง การทำความเย็นก็ยังเข้ามามีบทบาทอยู่ดี เช่น ธุรกิจร้านอาหาร เครื่องดื่ม ร้านขายของชำ เป็นต้น เพื่อรักษาและถนอมอาหารให้มีความสด

ด้วยสาเหตุเหล่านี้ทำให้อุปกรณ์ทำความเย็นมีหลายประเภท ในแต่ละประเภทก็ตอบโจทย์ของรูปแบบการใช้งานต่างกัน เพื่อให้ทุกคนเข้าใจมากขึ้น เราจึงจะขออธิบายการทำความเย็นการทำความเย็นกับการเก็บรักษากันค่ะ

ระบบการทำความเย็นและการเก็บรักษา

อุปกรณ์ทำความเย็นในปัจจุบันมีหลายประเภท เช่น ตู้เย็น ตู้แช่  ตู้แช่แข็ง ตู้แช่สแตนเลส รวมถึง ตู้แช่ 1 ประตู ตู้แช่ 2 ประตู เป็นต้น โดยทุกแบบออกแบบมาเพื่อวัตถุประสงค์ที่รักษาความเย็นเหมือนกัน แต่ต่างกันตรงที่รักษาความเย็นให้กับอะไร สำคัญคือต้องเลือกที่เหมาะสมกับอุณหภูมิและความชื้นของประเภทอาหาร

การทำให้เย็นหลัก ๆ มี 2 แบบ

การแช่เย็น
การช่วยยืดอายุการใช้งานของอาหาร โดยการชะลอการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์ที่จะทำให้อาหารเราเน่าเสีย โดยยังอยู่เหนือจุดเยือกแข็งของสิ่งของนั้น

การแช่แข็ง
การถนอมอาหารในอุณหภูมิที่ต่ำกว่าจุดเยือกแข็งของสิ่งของนั้น เป็นวิธีถนอมอาหารที่ทำให้อาหารอยู่ได้นานกว่าแบบแช่เย็น

สำหรับการทำความเย็นของตู้ทำความเย็นทั่วไป จะประกอบ ไปด้วย 2 ส่วนหลัก ๆ คือ

  1. ฉนวนป้องกันความร้อน ป้องกันไม่ให้ความร้อนไหลเข้ามา
  2. ส่วนทำความเย็น ความร้อนออกไปภายนอก

ถ้าเป็นตู้เย็นทั่วไปจะแบ่งออกตามวัตถุประสงค์ดังนี้

  • ช่องแช่แข็ง อุณหภูมิประมาณ  -18 องศาเซลเซียส
  • เนื้อสัตว์ อุณหภูมิประมาณ  0 องศาเซลเซียส
  • ช่องธรรมดา อุณหภูมิประมาณ   5 องศาเซลเซียส
  • ผัก ผลไม้ อุณหภูมิประมาณ  ประมาณ 10 องศาเซลเซียส

ข้อปฏิบัติในการใช้และการเก็บรักษา
ข้อปฏิบัติในการใช้และการเก็บรักษา

  1. แม้ตู้แช่ต่าง ๆ ดูจะเป็นเครื่องมือที่ใช้ง่ายแต่ถ้าจะให้ใช้ได้นาน ๆ การดูแลและเก็บรักษาก็มีความสำคัญมาก อีกทั้งการเก็บรักษายังส่งผลต่อความปลอดภัยตลอดจนการประหยัดพลังงานด้วย
  2. หลักการติดตั้ง ต้องติดตั้งบริเวณที่จะไม่เปียกน้ำ เป็นบริเวณที่ ราบเรียบ อย่าตั้งกลางแจ้ง อย่าให้โดดแสงแดดมากนัก
  3. หลีกเลี่ยงการวางในที่ ๆ มีความร้อน ระวังส่วนของแผงของเครื่องควบแน่น ควรอยู่ห่างจากผนังอย่างน้อย 5 นิ้ว ถ้าเป็นตู้แนวตั้งให้ตั้งให้ด้านหน้าสูงกว่าด้านหลังเล็กน้อย เพื่อประตูตู้ทำความเย็นปิดได้เองเมื่อเปิด 45 องศาเซลเซียส
  4. ในการต่อกระแสไฟฟ้าจำเป็นต้องใช้โวลต์ที่ถูกต้องจำเป็นต้องต่อสายดินเสมอ รวมถึงต้องติดตั้งอุปกรณ์ตัดไฟอัตโนมัติด้วยเพื่อความปลอดภัยหากมีการรั่วของกระแสไฟฟ้า
  5. เวลาจะแช่อาหาร ผักหรือผลไม้ควรห่อหุ้มอย่างมิดชิดก่อน เพื่อไม่ให้น้ำระเหยไปเกาะสะสมที่เครื่องระเหย
  6. หลีกเลี่ยงการนำสารที่ติดไฟง่ายหรือระเหยง่าย เช่น เบนซีน เข้ามาแช่ในตู้ให้ความเย็น
  7. หาต้องนำภาชนะมาแช่ควรคำนึงว่ามีโอกาสที่จะแตกหรือไม่ ภาชนะทนต่อความเย็นได้หรือไม่
  8. ถ้าอาหารที่เราจะแช่ร้อนอยู่ ควรพักให้เย็นขึ้นก่อน ไม่ควรนำเข้าเลยทันที
  9. เพื่อให้ไม่เกิดการสูญเปล่าของพลังงานควรคำนวณสิ่งของที่จะมาแช่ให้อยู่ในปริมาณที่ไม่น้อยเกินไป
  10. หากใส่สิ่งของมากเกินไปจะทำให้ใช้ไฟเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งยังอาจทำให้ของเสียง่ายขึ้นเพราะถ้าจุเยอะมากเกินจะส่งผลต่อการถ่ายเทความร้อนได้ ดังนั้นหมั่นนำสิ่งของที่ไม่จำเป็นออกจากตู้เสมอ
  11. ควรเปิดตู้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น อย่าพยายามเปิดบ่อย ๆ
  12. หลายคนชอบนำของมีคมมาแงะหรือแซะบริเวณท่อของเครื่องระเหย ซึ่งมีโอกาสทำให้รั่วได้ เพราะส่วนนั้นทำมาจากโลหะอ่อน เช่น อลูมิเนียมหรือทองแดง เป็นต้น
  13. สำหรับตู้ทำความเย็นแบบแนวนอน ไม่ควรวางของไว้ด้านบนเพราะเวลาเปิดตู้อาจทำให้เกิดความเสียหายได้
  14. หากกระแสไฟฟ้าดับหรือปิดสวิตช์ไฟ อย่าเพิ่งเปิดสวิตช์ทันที ควรทิ้งช่วงสัก 3 นาที เพื่อให้เครื่องควบแน่นสมบูรณ์ก่อน
  15. หมั่นตรวจสอบรอยรั่วบริเวณขอบประตูเสมอ
  16. ตรวจสอบบานพับทุก ๆ  6 เดือน
  17. ตรวจสอบการรั่วของฉนวนในผนังตู้ทำความเย็น โดยสังเกตที่หยดน้ำ
  18. ถ้าตู้ทำความเย็นไม่มีระบบละลายน้ำแข็งอัตโนมัติ ควรสังเกตและละลายน้ำแข็งเมื่อมีน้ำแข็งเกาะหนาช่วง 2.5 นิ้ว

สรุป การทำความเย็นมีความสำคัญกับแทบทุกอุตสาหกรรม อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญที่จะทำให้อุปกรณ์ทำความเย็นเกิดประสิทธิภาพสูงสุด คือ การเก็บรักษาอย่างถูกวิธี เพื่อให้สามารถใช้ได้นานและประหยัดพลังงานสูงสุดด้วย

บทความเพิ่มเติม เกี่ยวกับการยืดอายุการใช้งานของตู้แช่ วิธียืดอายุการใช้งานและความปลอดภัยของตู้แช่